วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วัน พุธ ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558

ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์บรรยายเนื้อหาเกี่ยวกับ วัสดุ อุปกรณ์สำหรับงานศิลปะเด็กปฐมวัย มีเนื้อหาดังนี้

วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะ

วัสดุ  คือ สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป  เช่น  กาว สี กระดาษ

วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย

1. กระดาษวาดเขียน  มักเรียกเป็นปอนด์ มี 60 80 100 ใช้ในงานวาดรูประบายสี



2.  กระดาษโปสเตอร์  มีทั้งแบบหน้าเดียวเเละสองหน้า มีสันสดใสหลากหลาย เหมาะกับงานตัด งานประดิษฐ์ที่เป็นมิติ


3.  กระดาษมันปู  เป็นกระดาษปิวเรียบมัน เนื้อบาง เหมาะกับงานประเภทฉีก ตัด พับ ปะกระดาษ


4.  กระดาษจากนิตยสาร  เหมาะแก่การนำมาใช้กับเด็กเล็กๆ มีผิวมัน และมีลวดลายสวยงาม


5. กระดาษหนังสือพิมพ์  ใช้ในการรองปูโต๊ะหรือกันพื้นเปื้อนใช้ในงานที่ต้องการใช้กระดาษชิ้นใหญ่ๆ


สีที่ใช้ในงานศิลปะ

1.  สีเทียน  สีที่ผสมกับขี้ผึ้ง สีเทียนที่ดีต้องไม่มีไขเทียนมากเกินไป สีชนิดนี้มีราคาถูก ถ้าผสมขี้ผึ้งมากสีจะอ่อนๆ  ใสๆ  ไม่ชัด  ไขเทียนเกาะหนา


2.  สีเทียนพลาสติก    ผลิตจากสีและพลาสติกผสม ทำเป็นแท่งเล็กๆ มีราคาแพงมาก เหลาได้ และใช้ยางลบธรรมดาลบได้ด้วย




3.สีเมจิ  ด้ามคล้ายปากกามี 2 ชนิด  เป็นสีที่สว่างสดใส  เหมาะกับการขีดเขียนลายเส้น ไม่เหมาะสำหรับเด็ก



4.  สีชอล์กเทียน  ราคาแพงกว่าสีเทียนธรรมดา  เป็นสีชอล์กที่ผสมน้ำมันหรือไข  สีสดใส  เนื้อนุ่มสีหนา  เมื่อระบายเเล้วสามารถใช้เล็บหรือกระดาษทิชชู่ตกแต่ง เกลี่ยสีให้เข้ากัน เหมาะสำหรับเด็กโต


5.  ปากกาปลายสักหลาดหรือบางทีเรียก ปากกาเคมี  ควรสวมปลอกปากกาทุกครั้งที่เขียนเสร็จ ถ้าทิ้งไว้นานๆสีจะซีดเร็ว


6.  ดินสอ  ไม่ควรนำมาเป็นเครื่องมือในการวาดรูปสำหรับเด็ก เพราะทำให้การเเสดงออกทางธรรมชาติของเด็กหดหายไป


7.  ดินสอสี  เหมาะสำหรับเด็กโตๆ เพราะหัก ทู่ง่าย ต้องเหลาบ่อยๆ  มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับสีเทียนหรือสีประเภทผสมน้ำ


8.  สีฝุ่น  เป็นสีผง  ทึบเเสง ใช้ผสมน้ำให้ใสข้นเป็นครีมอาจผสมกาวหรือแป้งเปียกด้วย มีราคาถูกกว่าสีประเภทอื่นๆ


9.  สีน้ำ  เป็นสีโปร่งเเสงไหล  ผสมกลมกลืนง่าย ใช้ในส่วนที่เป็นรายละเอียดได้ ทำให้เด็กเบื่อเพราะควบคุมสียาก


10. สีโปสเตอร์  คือสีฝุ่นที่บรรจุขวดขาย เป็นสีทึบเเสง   มีลักษณะคล้ายครีมราคาแพงกว่าสีฝุ่น ถ้าต้องการสีอ่อนๆต้องระบายสีขาวผสม


11.  สีพลาสติก  ขายตามร้ายวัสดุก่อสร้าง บรรจุในกระป๋องหลายขนาด ใช้แทนสีฝุ่นสีน้ำได้ ระบายได้เนื้อหยาบ มีกลิ่นด้วย


12.  สีจากธรรมชาติ  ได้จากผัก ผลไม้ ดอกไม้ ใบไม้ ต่างๆ



วัสดุในการทำศิลปะ





  • กาว  เหมาะกับเด็กมากที่สุด คือ กาวที่กวนเองจากแป้งมัน หรือที่เรียกว่า แป้งเปียก ไม่เหนียวเหนอะหนะหรือยืดยาวเป็นเส้น  สามารถล้างออกง่าย ส่วนกาวลาเท็กซ์ กาวร้อน จะเหมาะกับผู้ใหญ่มากกว่า
วัสดุที่ใช้ในการทำศิลปะ

  • ดินเหนียว  นำมาใช้ปั้น  ตากแห้งหรือเผาเป็นเครื่องปั้นดินเผาได้ ระบายสีได้
  • ดินน้ำมัน  มีส่วนผสมของน้ำมันอยู่ มีกลิ่นแรง เหนียวติดมือไม่เหมาะกับเด็ก
  • ดินวิทยาศาสตร์  นิ่ม มีหลายสี ไม่เหนียวติดมือ ไม่มีสารเคมี เหมาะสำหรับเด็ก
วัสดุที่ใช้ในการทำศิลปะ






อุปกรณ์ที่ใช้ในงานศิลปะ

  • อุปกรณ์ คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทำงานเป็นสิ่งที่ไม่หมดเปลืองไป ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสิ่งนั้นๆ
ความรู้เบื้องต้นเกียวกับสี

  1. สีเป็นองค์ประกอบของศิลปะที่มีอิทธิผลต่อความรู้สึกมากกว่าองค์ประกอบอื่นๆ
  2. สีเป็นวัตถุที่ได้จากธรรมชาติหรือมนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา
  • สีจากธรรมชาติ  ใบไม้ ผล ราก ลำต้น เป็นต้น
  • สีจากการสังเคราะห์ขึ้น  สีน้ำ สีโปสเตอร์ เป็นต้น
ตัวอย่างทฤษฏีสี




อิทธิพลของสีที่ให้ความรู้สึก
สีเหลือง    ร้อนและเย็น สว่าง เลื่อมใส น่าศรัทธา สดชื่น
สีแดง    ร้อนรุนแรง ตื่นเต้น เร้าใจ
สีเขียว   เย็น เจริญงอกงาม สดชื่น
สีน้ำเงิน   เย็น สงบเงียบ ความมั่นคง ความอุดมสมบูรณ์
สีม่วง   เศร้า ลึกลับ ร้อนและเย็น มีเสน่ห์
สีส้ม    ร้อน รุนแรง ตื่นเต้น
สีน้ำตาล   ความแห้งแล้ง น่าเบื่อหน่าย
สีดำ   เศร้า มืด หนักแน่น น่ากลัว
สีเทา    สงบ สบายใจ เคร่งขรึม
สีขาว    สะอาด บริสุทธิ์ เรียบง่าย สว่าง
สีฟ้า   สว่าง มีชีวิตชีวา
สีชมพู    ร่าเริง สดใส

                                               กิจกรรมที่ 2 
                                                             วัน พุธ ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558

  1. ให้วาดภาพสิ่งมีชีวิตตามรอยจุดที่กำหนดให้
  2. วาดภาพสิ่งไม่มีชีวิตตามรอยจุดที่กำหนดให้




1.  สิ่งมีชีวิต


2.  สิ่งไม่มีชีวิต



การประเมิน

ประเมินตนเอง  แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน  แต่งกายเรียบร้อย ส่วนใหญ่เข้าห้องเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนจดเนื้อหาบางส่วนเพิ่มเติม

ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลาและปล่อยตรงเวลา  แต่งกายสุภาพ  สอนเข้าใจมีการนำอุปกรณ์มาให้ดูเป็นตัวอย่างด้วย



วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

ความรู้ที่ได้รับ  
วันนี้อาจารย์ได้บรรยายเรื่องหลักการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความสำคัญ
ศิลปะ เป็นพื้นฐานทางการศึกษาเพราะ ศลปะด็กมีประสบการณ์หลากหลาย
     - ประสบการณ์ด้านการสำรวจ
     - ประสบการณ์ด้านวัสดุ-อุปกรณ์
     - ประสบการณ์ด้านความรู้สึก และการใช้ประสาทสัมผัส

จุดมุ่งหมายในการสอนศิลปะุ
-  การสอนศิลปะไม่ใช่การสอนให้เด็กวาดรูปเก่ง เป็นการปลูกฝังนิสัยอันดีงามละเอียดอ่อน  
- การสอนศิลปะมีจุดมุ่งหมาย เพื่อ
  1. ฝึกทักษะการใช้มือเเละเตรียมความงพร้อม
  2. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์+ความสามารถของเด็กแต่ละคน
  3. พัฒนาทางร่างกาย  อารมณ์  สังคม  สติปญญาและบุคลิกภาพ
  4. ปลูกผังค่านิยม เจตคติ อันดีงานของวัฒนธรรมไทย
  5. ฝึกให้เด็กเริ่มต้นเรียนรู้การใช้เครื่องมือ
บทบาทของครูศิลปะ
  • เป็นผู้สร้างบรรยายกาศ (การประดิษฐ์ คิดค้น และผลิตผลงาน)
  • เป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน (พูดคุย ชักจุง ให้กำลังใจ)
  • เป็นผู้ดูแลเด็กสร้างสรรค์งาน
  • เป็นต้นแบบที่ดี
  • เป็นผู้อำนวยความสะดวก
ข้อควรคำนึงในการสอนศิลปะ
  • หลีกเลี่ยงการให้แบบ  การวาดภาพตามรอยปะ
  • ต้องช่วยพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองให้แกห่เด็ก
  • ไม่บีบบังคับหรือคาดคั้นเอาความหมายจากภาพ
  • ไม่แก้ไขหรือช่วยทำผลงานให้เด็ก
  • ไม่จารณ์ผลงานศิลปะเด็ก
การเตรียมการสำหรับการสอนศิลปะ
  1. การสร้างข้อตกลง
  2. การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรรณ์ ให้เพียงพอ
  3. การจัดวางวัสดุอุปกรณ์ให้สะดวกแก่การใช้งาน
  4. การจัดเตรียมเครื่องมืสอรักษาความสะอาด
  5. กาีรจัดเตรียมพื้นที่ในการทำงานอย่างเหมาะสม
  6. การจัดเก็บผลงาน
ลำดับขั้นตอนการสอนศิลปะ
  1. เลือกเรื่องที่จะสอน
  2. กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอน
  3. เตรียมการก่อนสอน (แผน  อุปกรณ์การสอน)
  4. ทดลองและตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนลงมือจริง
  5. ทำการสอนจริงตามแผน
  6. ให้เด็กเตรียมตัวก่อนลงมือทำงาน
  7. ให้เด็กลงมือปฏิบัติงานโดยมีครูเป็นผู้ดูและเเละช่วยเหลือ
  8. การเก็บรักษาเเละทำความสะอาด
  9. การประเมินผลงานของเด็ก
เทคนิควิธีสอนศิลปะ
  • เปิดโอกาสให้เด็กเเสดงออกอย่างมีอิสระ เสรี
  • ฝึกหัดให้เด็กเรียนรู้ ทดลองด้วยตนเอง
  • เรียนรู้การวางแผนและแก้ไขปัญหา
  • เน้นการเรียนปนเล่น
  • ส่งเสริมการแสดงออกอย่างหลากหลายรูปแบบ
*หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ใบงาน3ชิ้นให้กลับไปทำเป็นการบ้าน  

ใบงานที่ 1 วาดภาพต่อเติม



ใบงานที่ 2 ออกแบบลวดลายที่ไม่ซ้ำกันทั้ง36ช่อง




ใบงานที่ 3 วาดโคร่งร่างโดยนำลวดลายต่างๆมาเป็นส่วนประกอบ




การประเมิน
ประเมินตนเอง   เข้าห้องตรงเวลา ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ ทำงานเสร็จตามเวลาที่กำหนด

ประเมินเพื่อน  ตั้งใจเรียน  บางคนก็มีจดเนื้อหาเพิ่มเติมจากในชีสด้วย หลายคนทำผลงานออกมาได้สวย

ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา  อธิบายเนื้อหาในการเรียนได้ชัดเจน สร้างความสบายใจเวลาทำผลงานทางศิลปะเพราะบางคนไม่มีฝีมือด้านนี้แต่อาจารย์เน้นให้รู้ทักษะ กระบวนการ เพื่อที่จะนำไปใช้สอนเด็กในอนาคต






วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2 
วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

ความรู้ที่ได้รับ
      วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมให้วาดมือตนเองและตกแต่งให้สวยงาม

ผลงานของฉัน



ผลงานของเพื่อน




วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

ความรู้ที่ได้รับ  

วันนี้อาจารย์ได้บรรยายเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้
  • ศิลปะเเต่เดิมหมายถึง  งานช่างฝีมืองานที่มนุษย์ต้องใช้สติปัญญาสร้างขึ้นด้วยความปราณีต จึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ    "ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความงามเเละความพึงพอใจ"


            ปรัญาศิลปศึกษา
  • มุ่งสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์
  • ให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างสรรค์งาน
  • เป็นเครื่องมือในการแสดงออก และใช้ความคิดสร้างสรรค์
  • นำไปใช้พัฒนาชีวิตด้านอื่นๆ
ความสำคัญของศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เด็กชอบวาดรูป ขีดๆเขียนๆ
  • เด็กมีความคิด จินตนาการ
  • เด็กถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ที่บางครั้งไม่สามารถสื่อออกมาเป็นคำพูดได้
  • เด็กต้องการกำลังใจ  ความเชื่อมั่น และความภาคภูมิใจ
ความสำคัญของการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย (ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม  สติปัญญา)
  • ช่วยจัดสรรประสบการณ์ที่มีผลต่อการเรียนรู้ให้กว้างมากขึ้น (กระบวนการทางศิลปะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง)

ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
  • ทฤษฏีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด
  • ทฤษฏคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์
  • ทฤษฏีความคิดสองลักษณะ
  • ทฤษฏีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
  • ทฤษฏีโอตา
พัฒนาการทางศิลปะ
      เคลล็อก(Kellogg) ศึกษางานศิลปะขีดๆเขียนๆของเด็กปฐมวัย จำแนกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นขีดเขี่ย
  • เด็กวัย 2 ขวบ
  • ขีดๆ เขียนๆ ตามธรรมชาติ
  • ขีดๆ เขียนๆ เส้นตรง เส้นโค้งบ้าง
  • ขีดโดยปราศจากการควบคุม
ขั้นที่ 2  ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง
  • เด็กวัย 3 ขวบ
  • การขีดๆ เขียนๆเริ่มเป็นรูปร่างฃ
  • เขียนวงกลมได้
  • ควบคุมมือกับตาให้สัมพันธ์กันมากขึ้น
ขั้นที่ 3 ขั้นรู้จักออกแบบ
  • เด็กวัย 4 ขวบ
  • ขีดๆ เขียนๆที่เป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน
  • วาดโครงสร้างหรือโครงร่างได้
  • วาดสี่เหลี่ยมได้
ขั้นที่ 4 ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ
  • เด็กวัย 5 ขวบขึ้นไป
  • เริ่มเเยกแยะวัตถุที่เหมือนกับมาตรฐานของผู้ใหญ่ได้
  • รับรู้ความเป็นจริงเขียนภาพแสดงถึง ภาพคน/สัตว์ได้
  • ควบคุมการขีดเขียนได้ดี
  • วาดสามเหลี่ยมได้
การประเมิน
ประเมินตนเอง  เข้าห้องตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทีกเพิ่มเติม 

ประเมินเพื่อน  เข้าห้องตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียนและจดบันทึกเพิ่มเติม แต่งกายเรียบร้อยทุกคน

ประเมินอาจารย์  เข้าสอนและปล่อยตรงเวลา อธิบายงานได้อย่างเข้าใจ แต่งกายสุภาพ









บันทึกอนุทินครั้งที่ 1
วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

อาจารย์อธิบายข้อตกลงภายในห้องเรียนและชี้แจงเกี่ยวกับการทำบล็อก

ข้อตกลงภายในห้องเรียน
- ห้ามเข้าเรียนสายเกิน 15 นาที
- ขาดเรียนได้ไม่เกิน 3 ครั้ง
- แต่งกายให้ถูกระเบียบ
- ใส่ผ้ากันเปื้อนทุกครั้งที่มีการลงมือปฏิบัติ

บล็อก
- บันทึกการเรียนทุกสัปดาห์
- หางานวิจัยและบทความที่เกี่ยวกับศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างละ 5 เรื่อง
- ลงรูประหว่างการทำงาน(ไม่ต้องอธิบายเยอะ)


วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

ความรู้ที่ได้รับ



   หนังสั้นเรื่อง ด.เด็ก ช.ช้าง ให้ข้อคิดว่า ครูควรเชื่อมั่นในตัวเด็กและผลงานที่เด็กทำ เมื่อเด็กทำผลงานได้ดีครูควรให้คำชื่นชม ไม่ควรสงสัยในตัวเด็ก หรือนำผลงานของเด็กมาประจานให้เพื่อนในห้องดูอย่างเช่นในวีดีโอเพราะจะทำให้เด็กเสียความมั่นใจและอาจจะทำให้เด็กไม่กล้าที่จะสร้างสรรค์ผลงานของตน

   งานศิลปะไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว ดังนั้นควรคำนึงถึงพัฒนาการ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความตั้งใจในการทำงาน ความคิดสร้างสรรค์

   กิจกรรมวาดรูปตัวเองตามจินตนาการ



      ให้นักศึกษาวาดรูปตัวเองตามจิตนาการแล้วนำผลงานมาติดที่หน้าห้องพร้อมบอกชื่อหรืออธิบายภาพที่วาดอย่างสั้นๆ
   สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม
   - การในทำงานครูควรบอกสิ่งที่ให้เด็กทำและไม่ให้ทำอย่างชัดเจน
   - เมื่อให้เด็กทำงานครูควรเดินดู
        1.ได้รู้พฤติกรรมของเด็กในขณะทำกิจกรรม
        2. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน
        3. ได้เห็นกระบวนการขั้นตอนในการทำงานของเด็ก
   - หากเด็กให้เพื่อนช่วยไม่ควรห้ามหรือว่า
   - ควรเว้นที่ว่างไว้ให้ครูเขียนคำอธิบายรูป
   - ในการเขียนอธิบายภาพควรเขียนเป็นประโยคไม่ควรเขียนเป็นคำ
   - ในการเขียนอธิบายภาพควรใช้คำถามเพื่อเป็นการกระตุ้นการใช้ภาษาของเด็ก



วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558

ความรู้ที่ได้รับ

   อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มทำงานแล้วออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนตามหัวข้อดั้งนี้

  1. ความหมายของศิลปะ
  2. ความสำคัญ
  3. ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
  4. คุณลักษณะของครู
  5. ครูควรสอนอะไรให้เด็ก
  6. ตัวอย่างกิจกรรมศิลปะ
  7. ความคาดหวังที่จะได้รับจากวิชานี้
  8. การประเมินผลงาน
 






   ศิลปะคือกิจกรรมที่เปิดโอกาศให้เด็กได้ใช้จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ผ่านชิ้นงานของตัวเองโดยมีกิจกรรมและวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลายโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  และยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ด้านร่างกายการใช้อุปกรณ์ ด้านอารมณ์ ผ่อนคลาย คลายเครียด มีความสุขในการทำงาน ด้านสังคมการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน การช่วยเหลือกัน การแบ่งปัน การรอคอย ด้านสติปัญญาเสริมสร้างจินตนาการกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ 
   คุณสมบัติบทบาทหน้าที่ของครู
   - อำนวยความสะดวกแก่เด็ก
   - เปิดโอกาสให้เด็กได้สร้างสรรค์ผลงานอย่างอิสระ
   - มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย
   - มั่นแสวงหาความรู้ใหม่อยู่เสมอ
   - เป็นคนช่างสังเกต

การนำไปประยุกต์ใช้ 

  1. ได้รู้แนวทางของการเรียนวิชานี้และนำไปปรับใช้ในการวางแผนในการเรียนของเทอมนี้ได้
  2. ครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก
  3. การกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก
การประเมิน

ประเมินตน  เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือและแสดงความคิดเห็นในการทำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อน

ประเมินเพื่อน  เข้าห้องเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพตั้งใจฟังอาจารย์สอน ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่มได้เป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ สามารถแบ่งเวลาให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรม มีวิธการสอนที่เข้าใจ